พบกับวิเคราะห์ GBPUSD ที่สายเทรดสั้นห้ามพลาด การวิเคราะห์คู่เงิน Forex ดูแนวโน้มราคาล่าสุด สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค อีกทั้งแนวทางในการเข้าออกออเดอร์ ไปจนถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการเทรดคู่เงินแบบละเอียด เรียกได้ว่าครบจบในบทความเดียว!
บทวิเคราะห์ Forex วันนี้ : คู่เงิน GBPUSD
บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน
ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อราคาของชำในสหราชอาณาจักรพุ่งขึ้นสู่ 4.1% ในช่วงสี่สัปดาห์ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว จากการขึ้นภาษีเงินเดือนและการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งทำให้ค่าครองชีพของครัวเรือนเพิ่มขึ้น ท่ามกลางยอดขายของชำที่ยังคงขยายตัว 4.4%
แม้เงินเฟ้อของชำจะพุ่งขึ้น แต่แรงกดดันด้านราคาทั่วไปในสหราชอาณาจักรกลับดูเหมือนจะผ่อนคลายลง นักวิเคราะห์คาดว่าเงินเฟ้อภาคบริการ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับลดลงใกล้ 4% ภายในเดือนมิถุนายน เนื่องจากค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นช้าลงและแรงกดดันค่าจ้างที่เย็นตัวลง การชะลอตัวของเงินเฟ้อนี้อาจกระตุ้นให้ BoE ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น โดยนักวิเคราะห์คาดว่า BoE จะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคมและเส้นทางดอกเบี้ยสุดท้ายจะต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม Alan Taylor กรรมการนโยบายของ BoE มองว่าการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อในเดือนเมษายนเป็นผลมาจากการปรับภาษีและราคาที่เกิดขึ้นครั้งเดียวเป็นหลัก โดยย้ำถึงการสนับสนุนการลดดอกเบี้ย เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเติบโตจากความตึงเครียดทางการค้าโลก
ขณะเดียวกัน Andrew Bailey ผู้ว่าการ BoE ได้เตือนให้ระมัดระวังการลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว โดยอ้างถึงความไม่แน่นอนในแนวโน้มการค้าโลกและผลกระทบต่อเงินเฟ้อในประเทศ และ Bailey ยังเน้นถึงความสำคัญของความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจาก Brexit โดยเฉพาะในภาคบริการทางการเงิน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการลงทุนและเสถียรภาพของตลาด
ในอีกด้านหนึ่ง ความเชื่อมั่นของผู้ค้าปลีกในสหราชอาณาจักรลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ตามรายงานของ CBI เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงเปราะบาง ผู้ค้าปลีกคาดว่ายอดขายจะลดลงต่อเนื่อง และมีแผนจะลดการจ้างงานและการลงทุน ขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคบริการก็ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองปีครึ่ง เนื่องจากต้นทุนและแรงกดดันด้านราคาสูงขึ้นจากภาษีแรงงานที่เพิ่มขึ้น สำหรับตลาดที่อยู่อาศัย ราคาบ้านคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.5% ในปีนี้ และราว 4% ในปี 2026 เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนซัพพลายที่ยังดำเนินต่อไปค่ะ
ทั้งนี้ รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำลังเผชิญความท้าทายทางการคลังอย่างมาก ก่อนการทบทวนงบประมาณในวันที่ 11 มิถุนายน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น ความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และความเปราะบางทางเศรษฐกิจ กำลังทดสอบความมุ่งมั่นในการรัดเข็มขัดทางการคลังของรัฐบาล รัฐมนตรีกระทรวงการคลังคาดว่าจะประกาศแผนการควบคุมการคลังในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการปรับนโยบายของ BoE หรือกลยุทธ์การออกพันธบัตรของสำนักงานจัดการหนี้สาธารณะ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากการถูกปรับลดการเติบโตระยะกลาง เนื่องจากผลิตภาพที่อ่อนแอ การอพยพย้ายถิ่น และภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ อาจจำกัดความยืดหยุ่นทางการคลัง เพิ่มโอกาสในการขึ้นภาษีหรือการปรับลดงบของบางหน่วยงานค่ะ
ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรปีนี้ขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.2% โดยอ้างถึงข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสแรกที่แข็งแกร่ง และคาดว่าปี 2026 จะขยายตัว 1.4% แม้จะมีแรงกดดันจากภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ
ในอีกด้านหนึ่ง สหราชอาณาจักรกำลังเร่งผลักดันให้สหรัฐฯ ลงนามข้อตกลงการค้าใหม่ที่ประกาศเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดภาษีส่งออกของรถยนต์และเหล็กจากสหราชอาณาจักร โดยขณะนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้ธุรกิจอังกฤษเกิดความไม่แน่นอน
ฝั่งสหรัฐฯ ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ หลังจากสัปดาห์ที่ผันผวนเพราะความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าและความคาดหวังต่อข้อมูลเงินเฟ้อ โดยดัชนีดอลลาร์ขยับขึ้น 0.3% ยุติการอ่อนค่าต่อเนื่อง 5 สัปดาห์ ซึ่งดอลลาร์ดีดตัวเล็กน้อยหลังศาลรัฐบาลกลางกลับมาใช้ภาษีศุลกากรส่วนใหญ่ของทรัมป์ แต่บรรยากาศการลงทุนยังมีความระมัดระวัง เพราะนักลงทุนกังวลว่าภาษีเหล่านี้จะฉุดการเติบโตของสหรัฐฯ และผลักดันเงินเฟ้อขึ้นค่ะ
โดยข้อมูลเศรษฐกิจยังตอกย้ำความกังวลดังกล่าว การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนเมษายน ลดลงจาก 0.7% ของเดือนมีนาคม ขณะที่กำไรภาคธุรกิจหดตัวแรงที่สุดในรอบกว่า 4 ปีในไตรมาสแรก และเศรษฐกิจหดตัว 0.2% ต่อปีในไตรมาสแรก ดีขึ้นเล็กน้อยจากประมาณการเดิม แต่ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าก็ยังถ่วงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางการขาดดุลการค้าที่แคบลง 46% เหลือ 87.6 พันล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายน เพราะบริษัทเร่งนำเข้าสินค้าก่อนการใช้ภาษี แต่การลังเลที่จะสร้างสต็อกสินค้าใหม่อาจกดดันการเติบโตจากการค้า ขณะที่ยอดขายบ้านที่รอปิดการขายก็ร่วง 6.3% ในเดือนเมษายน จากอัตราดอกเบี้ยจำนองที่สูงและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจค่ะ
ด้านดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ต่อเดือน และ 2.1% ต่อปี ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดอาจลดดอกเบี้ยอีกครั้ง ซึ่งอย่างเร็วที่สุดอาจเป็นกันยายนนี้ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เฟดยังคงระมัดระวัง โดยกังวลถึงแรงกดดันเงินเฟ้อจากภาษีศุลกากรและผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม ส่งผลให้ดอลลาร์ยังเปราะบางต่อข้อมูลเศรษฐกิจที่จะบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งหรือจุดอ่อนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่ะ
โดยสรุปแล้ว ในด้านปัจจัยพื้นฐาน แนวโน้ม GBPUSD ยังผสมผสานกันอยู่ค่ะ ด้านหนึ่ง เงินเฟ้อภาคบริการในอังกฤษเริ่มชะลอ และ BoE ถูกคาดการณ์ว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยเดือนสิงหาคม ซึ่งจะเป็นแรงกดดันอ่อน ๆ ต่อค่าเงินปอนด์ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นภาคค้าปลีกที่เปราะบาง การลดการจ้างงาน และความกังวลเรื่องวินัยการคลัง ยังตอกย้ำความเสี่ยงขาลงสำหรับ GBP อีกด้วยค่ะ
แต่ในทางกลับกัน การที่ IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของสหราชอาณาจักรเล็กน้อย และความคืบหน้าในการเจรจาการค้ากับสหภาพยุโรป ซึ่งจะช่วยลดความตึงเครียดหลัง Brexit อาจพอช่วยหนุนค่าเงินปอนด์ได้บ้างค่ะ
บทวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิค

ปัจจุบัน GBPUSD เคลื่อนไหวแถว 1.3461 หลังจากการปรับฐาน โดยได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐ จากการฟื้นนโยบายภาษีและความไม่แน่นอนของการค้าโลก ในเชิงเทคนิค คู่เงินกำลังทดสอบโซนรับสำคัญแถว 1.3440–1.3420 ซึ่งสอดคล้องกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 วัน และขอบล่างของแนวโน้มขาขึ้น หากหลุดต่ำกว่า 1.3420 จะเปิดทางสู่แนวรับถัดไปแถว 1.3370 อย่างไรก็ตาม ถ้ายังทรงตัวเหนือโซนนี้อยู่ได้ อาจดีดตัวกลับไปทดสอบแนวต้านระยะสั้น 1.3520–1.3560 ได้ค่ะ
ทั้งนี้ ความแกร่งของดอลลาร์สหรัฐ จากท่าทีระมัดระวังของเฟดและข้อมูลเงินเฟ้อพื้นฐานที่ออกมาดีกว่าคาด ก็ยังเป็นอุปสรรคต่อ GBPUSD อยู่ค่ะ ในระยะสั้น คู่เงินอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 1.3370–1.3560 ขณะที่รอข้อมูลใหม่เกี่ยวกับค่าจ้างในอังกฤษและตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดยหากหลุดต่ำกว่า 1.3370 ได้ชัดเจน จะเปิดทางลงไปถึง 1.3250 แต่ถ้าดีดกลับทะลุ 1.3560 ได้ ก็จะมีโอกาสขึ้นไปทดสอบ 1.3670 ได้ค่ะ
📍ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- แนวรับสำคัญ : 1.3437, 1.3414, 1.3378
- แนวต้านสำคัญ : 1.3509, 1.3532, 1.3568
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญที่ส่งผลต่อคู่เงิน GBPUSD

ที่มา : Forexfactory

⭐ คุณน้าแนะนำโบรกเกอร์คุณสมบัติเด่น!
การเลือกโบรกเกอร์ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ สำหรับการเทรด Forex ค่ะ
เพราะโบรกเกอร์จะพัฒนาระบบและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้การเทรดของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นให้ได้มากที่สุด
สำหรับเทรดเดอร์ที่ยังไม่มั่นใจว่า โบรกเกอร์ Forex แบบไหนดี?
คุณน้าได้รวบรวมการจัดอันดับของโบรกเกอร์ในทุกคุณสมบัติ เช่น สเปรดต่ำ, เทรดทอง หรือโบนัสฟรี

💡 คัมภีร์เริ่มต้น มือใหม่หัดเทรด
มือใหม่หัดเทรดที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? คุณน้าได้รวบรวมเนื้อหาสำคัญที่ถือเป็นจุดเริ่มต้น สำหรับการเทรด Forex มาไว้ให้แล้วที่นี่!
🔍 ตัวอย่างเนื้อหา มือใหม่หัดเทรดต้องรู้!
สรุปวิเคราะห์ GBPUSD
จุดน่าเข้า Buy
- Buy/ Long 1 : หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3377 – 1.3437 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.3437 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3533 และ SL ที่ประมาณ 1.3347 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
- Buy/ Long 2 : หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3509 – 1.3569 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3628 และ SL ที่ประมาณ 1.3407 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดน่าเข้า Sell
- Sell/ Short 1 : หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3509 – 1.3569 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้าน 1.3509 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3437 และ SL ที่ประมาณ 1.3599 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
- Sell/ Short 2 : หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.3377 – 1.3437 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3343 และ SL ที่ประมาณ 1.3539 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
คำเตือน
การให้ข้อมูลการวิเคราะห์คู่เงิน Forex ทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค เป็นเพียงการให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาชักชวนในการลงทุนแต่อย่างใด เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจการลงทุน
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge